วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่13 แนวโนม้และรูปการท่องเที่ยว

บทที่ 13
แนวโน้มและรูปแบบทางการท่องเที่ยวซึ่งได้รับความนิยมในปัจจุบัน

การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)



การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หมายถึง การกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์และการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สามารถรักษาเอกลักษณ์ของธรรมชาติและวัฒนธรรมไว้นานที่สุด เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป

แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
สามารถพิจารณาได้จากองค์ประกอบ 4 ประการคือ
  1. การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวในขอบเขตของความสามารถของธรรมชาติชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว
  2. การตระหนักในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
  3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีต่อการท่องเที่ยว
  4. การประสานความต้องการทางเศรษฐกิจ การคงอยู่ของสังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ประการ
  1. เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึก มีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศนั้นๆ
  2. เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่สร้างความรู้และให้ความรู้
  3. เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาท มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมจัดทำและร่วมได้รับผลประโยชน์อย่างเสมอภาค
ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
  • เพื่อให้การใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นไปอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด
  • เพื่อรักษาทรัพยากรท่องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
  • เพื่อป้องกันผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดกับทรัพยากรท่องเที่ยวทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
หลักการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
  • อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี (Using Resource Sustainable)
  • ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นและลดการก่อของเสีย (Reducing Over-Consumption and Waste)
  • รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคมและวัฒนธรรม (Maintain Diversity)
  • การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว (Integrating Tourism into Planning)
  • ต้องการนำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น (Supporting Local)
ขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying capacity) หมายถึง ปริมาณการใช้ประโยชน์พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่พื้นที่นั้นสามารถจะแบกรับไว้ได้ ก่อนที่จะเกิดความเสื่อมโทรมขึ้นกับพื้นที่นั้นๆ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism)
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ให้คำนิยามว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism) หมายถึง การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
การท่องเที่ยวนิเวศประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการ
  1. เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
  2. เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ
  3. มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบ
  4. มีการจัดการด้านการให้ความรู้
  5. มีความรับผิดชอบโดยผู้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว
  6. เป็นการท่องเที่ยวที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความเพลิดเพลินและประทับใจ
กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนั้นมีอยู่หลายแบบ สามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้
กิจกรรมหลัก 10 ประเภท ได้แก่
  1. กิจกรรมการเดินป่า (Hiking/ Trekking)
  2. กิจกรรมศึกษาธรรมชาติ (Nature Education)
  3. กิจกรรมถ่ายรูปธรรมชาติ บันทึกเทปวิดีโอ เทปเสียงธรรมชาติ (Nature Photography, Video Tapping And Sound of Nature Audio Taping)
  4. กิจกรรมส่อง/ ดูนก (Bird Watching)
  5. กิจกรรมศึกษา/ เที่ยวถ้ำ (Cave Exploring/ Visiting)
  6. กิจกรรมศึกษาท้องฟ้าและดาราศาสตร์ (Sky Interpretation)
  7. กิจกรรมล่องเรือศึกษาธรรมชาติ (Boat Sightseeing)
  8. กิจกรรมพายเรือแคนู/ เรือคายัค/ เรือบด/ เรือใบ (Canoeing/ Kayak/ Browbeating)/ sailing)
  9. กิจกรรมดำน้ำชมปะการังน้ำตื้น (Snorkel Skin Diving)
  10. กิจกรรมดำน้ำลึก (Scuba Diving)
กิจกรรมเสริม 9 ประเภท ได้แก่

  1. กิจกรรมชมทิวทัศน์ธรรมชาติในบรรยากาศที่สงบ (Relaxing)
  2. กิจกรรมขี่จักรยานตามเส้นทางธรรมชาติ (Terrain/ Mountain Biking)
  3. กิจกรรมปีน/ ไต่เขา (Rock/ Mountain Climbing)
  4. กิจกรรมพักแรมด้วยเต็นท์ (Tent Camping)
  5. กิจกรรมเครื่องร่อนขนาดเล็ก (Hang Glider)
  6. กิจกรรมล่องแพยาง/ แพไม้ไผ่ (White Water Rafting)
  7. กิจกรรมพักผ่อนรับประทานอาหาร (Picnicking)
  8. กิจกรรมเที่ยวน้ำตก (Waterfall Visits/ Exploring)
  9. กิจกรรมวินด์เซิร์ฟ (Windsurfing)
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agrotourism)

เป็นการท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมการเกษตรเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวหลัก สามารถดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว มีการจัดระบบการให้บริการไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน
ลักษณะสำคัญ
  • เป็นการท่องเที่ยวที่มุ่งความสนใจไปยังกิจกรรมการเกษตรหรือสภาพแวดล้อมทางการเกษตรเป็นหลัก
  • เป็นการท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ทางการเกษตรเป็นหลัก
  • เป็นการท่องเที่ยวที่มีการจัดระบบการให้บริการไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน เป็นต้น
ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
การกสิกรรม หมายถึงการประกอบพืชไร่ พืชสวน
การประมง ได้แก่ กิจกรรมการเพาะเลี้ยงและการจับสัตว์น้ำ
การปศุสัตว์
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism)
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหมายถึง การท่องเที่ยวเพื่อบำบัดโรคหรือบำรุงสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตของนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจเป็นการรักษาโรค การฟื้นฟูสุขภาพและการรักษาสุขภาพให้ดีขึ้น
ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
  • การท่องเที่ยวเพื่อรักษาโรคของนักท่องเที่ยว
  • การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูสุขภาพของนักท่องเที่ยว
  • การท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยวให้ดีขึ้น เป็นต้น

บทที่12 การพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์สำหรับอุสาหกรรมการท่องเที่ยว

บทที่ 12 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว



การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คือ การทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) เพื่อปรับปรุงสิทธิภาพของบริษัท มี ๒ รูปแบบ คือ
๑) การแลกเปลี่ยนข้อมูล (EDI) เป็นการจำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือแบบตัวต่อตัว
๒) การใช้บริการตู้จ่ายเงินสด (ATM) จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกหลายๆที่

สาเหตุที่องค์กรต่างๆใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
๑) การจำหน่ายสินค้า ทำให้สินค้าถึงผู้บริโภคโดยตรง
๒) รายได้ ไม่ต้องผ่านตลาด รายได้เพิ่มขึ้น
๓) สามารถบริการลูกค้าได้ดีขึ้น
๔) ขนส่งสินค้าได้เร็วมากขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว๑) ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- ด้านการติดต่อสื่อสาร
- ด้านการขาย
๒) ผลกระทบของระบบอินเตอร์เน็ตที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
เนื่องจากความสนใจในการหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก กลุ่มประกอบการตัวแทนจำหน่ายทางด้านการท่องเที่ยว จึงประสบผลกระทบอย่างรุนแรง พวกเขาจึงสร้างระบบการจองต่างๆ ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต หรือ ปรับเปลี่ยนองค์กรให้เหมาะสม

การนำระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ได้ประโยชน์สูงสุด

๑.การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ถ้ามีการนำเสนอข้อมูลที่ดี โดยนำเสนอรูปภาพและบริการต่างๆ จะเป็นการเพิ่มแรงจูงใจแก่ลูกค้า
๒.การกระจายข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ถ้าข้อมูลที่มีความละเอียด เป็นระเบียบแบบแผน จะส่งผลดีต่อองค์กร เพราะลูกค้าส่วนใหญ่จะใช้ข้อมูล เพื่อมาเลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับตนเอง
๓.การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต การเก็บข้อมูลที่ดี จะเป็นประโยชน์แก่เจ้าของกิจการ
๔.การจองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อลูกค้าจะได้ทำธุรกรรมได้โดยปราศจากข้อผิดพลาด และสะดวกสบาย

บทที่11 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

บทที่11
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
องค์กรท่องเที่ยวโลก เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวนานาชาติในระดับระหว่างรัฐบาลโดยจัดตั้งเป็นองค์การที่มีชื่อว่าWorld Tourism Organization : WTO
องค์กรการท่องเที่ยวโลกจัดชึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้
1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ สันติภาพ ความมั่งคั่ง โดยเคารพหลักสากลในด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนทั่วโลก โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และเพศ
2 เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ จึงให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อ ประโยชน์ของประเทศที่กำลังพัฒนาในด้านการท่องเที่ยว
3 เพื่อดำเนินการตามบทบาทด้านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ องค์การจึงสร้าง และธำรงไว้ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพกับองค์การสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การ สหประชาชาติ โดยองค์การจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICOA)มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นในปี 2487 (ค.ศ.1944) ปัจจุบันมีสมาชิก 188 ประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์การ คือ ส่งเสริมการบินพลเรือนให้กว้างขวางไปทั่วโลก องค์การนี้มีสำนักงานสาขาประจำภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิกในประเทศไทยโดยตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต (ติดกับสวนจตุจักร) ลาดพร้าว กรุงเทพฯองค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development-OECD) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1960 ที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส องค์กรนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกล่าว คือ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวประสานงานการศึกษาทางด้านการท่องเที่ยวและเป็นผู้ดำเนิน การจัดประชุมประเทศสมาชิก เพื่อปรับปรุงวิธีการทางสถิติของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราและระบบบัญชีองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนายังได้จัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อว่า “Tourism Policy and International Tourism in OECD Member Countries”
องค์กรระดับอนุภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
คณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยวภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการท่องเที่ยวอาเซียน (Sub-Committee on Tourism of the Committee on Trade and Tourism)
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานคือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในกิจการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจนำเที่ยว เป็นต้น
องค์กรระดับโลกที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน
World Travel and Tourism Council: WTCC
สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก สมาชิกของสภาจะเป็นองค์การที่ได้รับการเชิญให้เป็นสมาชิกเท่านั้น โดยการพิจารณาให้เป็นสมาชิกดูที่ว่าเป็นธุรกิจที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ รวมทั้งเป็นองค์การที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก หรือระดับภูมิภาคหรือไม่ เช่น สายการบิน โรงแรม ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจนำเที่ยว หรือธุรกิจให้เช่ารถ เป็นต้น สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกมีพันธกิจในการดำเนินงาน 3 ด้านหลัก ดังนี้
1 การดำเนินงานตามวาระการประชุม การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบถึงการเดินทางและการท่องเที่ยว และชักชวนรัฐบาลให้คำนึงถึงความสำคัญของการสร้างงานและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศด้วยการเดินทางและการท่องเที่ยว
2 การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเข้าใจ คาดหวัง แปลความหมาย และดำเนินงานการพัฒนาภูมิหลักของโลก
3 การสร้างเครือข่ายสภา สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกเป็นสภาของผู้นำทางธุรกิจที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและการท่องเที่ยวอยากเข้ามามีส่วนร่วม
International Congress and Convention Association: ICCA
สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศสมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการระหว่างประเทศ และเป็นตัวกลางในการอำนวยความสะดวกในการจัดบริการด้านที่พัก การจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประชุมและการจัดนิทรรศการ
องค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน
The Pacific Asia Travel Association: PATA
มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อกระตุ้นความสนใจให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นดินแดนเพื่อการพักผ่อน เพื่อพัฒนา ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวไปสู่แหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของโลก และให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคแปซิฟิก
วัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่
1. เป็นสื่อกลางแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
2. การให้ความช่วยเหลือด้านการส่งเสริม และการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิก และช่วยหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการที่เกี่ยวกับที่พัก และการพักผ่อนหย่อนใจ
3. การประสานงานระหกว่างสมาชิกทั้งมวลกับวงการอุตสาหกรรมขนส่ง และธุรกิจการท่องเที่ยว
4. การดำเนินการโฆษณา ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะที่เป็นภูมิภาคที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนแห่งหนึ่งของโลก
5. การส่งเสริมให้มีการบริการ และการอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งทั้งที่เข้ามา และภายในภูมิภาคแปซิฟิกให้พอเพียง
6. การดำเนินการด้านสถิติ และค้นคว้าวิจัยแนวโน้มของการเดินทางท่องเที่ยว และการพิจารณาของการท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวล
ASEAN Tourism Association: ASEANTA
สมาคมท่องเที่ยวอาเซียน
เป็นการรวมตัวของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมโรงแรม และสายการบินแห่งชาติอาเซียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อรวมให้สมาชิกมีจุดมุ่งหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการประสานความร่วมมือ มิตรภาพ ตลอดจนความช่วยเหลือต่อกัน
2. เพื่อรักษาระดับของมาตรฐานการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เดินทางและนักท่องเที่ยว
3. รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและคุณธรรมของธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อคงไว้ซึ่งงานอาชีพแขนงหนึ่ง
4. สนับสนุนและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน
5. กระตุ้น สนับสนุน และช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคอาเซียน
6. ประสานงานและให้คำแนะนำแก่สมาคม หน่วยงานของรัฐ เอกชน และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกหรือเกี่ยวข้องในวงการธุรกิจท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียน
7. ให้บริการหรือความช่วยเหลือต่อภาครัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
American Society of Travel Agents ASTA
สมาคมบริษัทนำเที่ยวแห่งอเมริกา
สมาคมนี้ถือได้ว่าเป็นสมาคมของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นองค์การเดียวที่รวบรวมสมาชิกต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทุกสาขาไว้ด้วยกัน
ปัจจุบันสมาคมมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อ
1. วางมาตรการการบริการแก่นักท่องเที่ยว
2. ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประสานงานการดำเนินงานของบริษัทนำเที่ยวในสหรัฐอเมริกา
3. ให้ความร่วมมือแก่องค์การระหว่างประเทศ และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
4. ขจัดปัญหาและร่วมอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวเป็นส่วนรวม
สำหรับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นั้นเข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี พ.ศ.2509
องค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย
กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา
(Ministry of Tourism and Sport)
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวมีภารกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในการพัฒนามาตรฐาน การบริการด้าน การท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการสนับสนุนการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน

เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเพื่อก่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ซึ่งเดิมเป็นภารกิจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และได้ถ่ายโอนมาให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ประกอบกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2545 นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ยังรับโอนงานพัฒนาและสนับสนุนกิจการภาพยนตร์มาจากกรมประชาสัมพันธ์ด้วย
Thailand Convention and Exhibition Bureau เป็นองค์การมหาชนของรัฐ สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดตั้งในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2545 ทำหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประชุมและนิทรรศการ (MICE) นานาชาติในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นสถานที่สำคัญในการจัดกิจกรรมดังกล่าว
องค์กรภาคธุรกิจเอกชนสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (Association of Thai Travel Agents :ATTA)
สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (Thai Travel Agents Association: TTAA)
สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวแห่งประเทศไทย (สนท. The Association of Thai Tour Operators: ATTO) สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย (สมอ. Professional Guide Association Thailand: PGA
สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรภาคเอกชน จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ดังนี้
-เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงานอย่างมีระบบ ระหว่างรัฐกับเอกชนด้วยกัน
-ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
-ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีระบบการรับรองคุณภาพ ระบบมาตรฐาน และระบบประกันคุณภาพของธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการสำหรับนักท่องเที่ยว
-ควบคุมดูแลให้สมาชิกผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวดำเนินการอย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรม และมีจรรยาบรรณ
-ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลอง อบรม และเผยแพร่วิชาการและเทคโนโลยี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้แก่สมาชิก หรือจัดเป็นบริการบุคคลทั่วไป
-ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อสมาชิก และบุคคลทั่วไปทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
-เสนอความเห็นหรือให้คำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว
-ให้ความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม กิจการด้านการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
-คุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างสมาชิกด้วยกัน
-ศึกษาและหาทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ดำเนินกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

บทที่10 กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


บทที่ 10
กฎหมายสำคัญของไทย ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรณ์หลายฝ่ายทั้งรัฐและเอกชน และด้วยเหตุที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวดั้งนั้น
กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1 กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
2 กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว
3 กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
4 กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว
5 กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป มี
กฎหมายสำคัญจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
1 พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522
-คำจำกัดความของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวและคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
-ระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งทุน และเงินสำรองของการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ระเบียบเกี่ยวกับการกำกับ การควบคุมและการบริหารงานของททท.
2 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
-กฎหมายก่อตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยว
-ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โอนภาระงานด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาบริการท่องเที่ยว และทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวให้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-ทำให้ททท.มีหน้าที่เพียงด้านการบริหารจัดการตลาดการท่องเที่ยวเป็นหลัก
3 พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
-กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมี
วัตถุประสงค์เพื่อ
1 เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงาน
2 ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
3 ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
4 ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว
4 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ถึง 2546 (รวม 5 ฉบับ)
-เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
-จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
-คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว มีกฎหมายสำคัญ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
11พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522, 2523 และ 2542-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกในประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยว
-ดูแลเกี่ยวกับการเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าว
-การควบคุมพาหนะที่เข้า-ออกประเทศตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือท้องที่ที่กำหนด
2พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ถึง 2548-เป็นกฎหมายเก่าแก่ที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2469 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาโดยลำดับ
-ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีกฎหมายศุลกากรใช้บังคับอยู่รวม 20 ฉบับ
-เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการนำของเข้า การส่งของออก การเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรของนักท่องเที่ยว รวมทั้งระเบียบว่าด้วยการตรวจของและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร และข้อกำหนดเรื่องการนำเงินตราเข้าออกประเทศ
- กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวมีกฎหมายสำคัญ จำนวน 17 ฉบับ ได้แก่
3 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองดูแลรักษาและจัดการอุทยานแห่งชาติอันเป็นทรัพยากรการ ท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติซึ่งต้องการให้มีการจัดการ การอนุรักษ์ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน
-อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียน การกำกับดูแลโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และป้องกันการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ผิดกฎหมาย การจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์
-ระบุให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด
-เนื่องจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมการดำเนินการใดๆจึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้อย่างเคร่งครัด
กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว22 ฉบับ
1 พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535
การกำกับดูแลเรื่องของการจัดตั้ง ควบคุมการดำเนินงาน รวมทั้งการกำหนดบทลงโทษสำหรับธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ และธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้มาตรฐาน และไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
กำกับดูแลในเรื่องของการขอรับใบอนุญาตการขอต่ออายุ หรือยกเลิกการเป็นมัคคุเทศก์ทั่วไปและมัคคุเทศก์เฉพาะด้วย เนื่องจากมัคคุเทศก์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในอันที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพนี้มีจรรยาบรรณแห่วิชาชีพอย่างแท้จริง
- การจัดตั้งสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ในแต่ละภูมิภาค
2 พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547
- เกี่ยวข้องกับการการสร้างโรงแรมในแหล่งท่องเที่ยว
- การควบคุมดูแลและการให้บริการแก่ผู้พักอาศัยของเจ้าของกิจการ
- พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509, 2521, 2525 และ 2546
- เกี่ยวข้องกับการการให้คำจำกัดความของสถานบริการประเภทต่างๆ เช่น สถานเต้นรำ สถานที่ที่มีอาหาร สุราจำหน่าย สถานอาบน้ำ นวดหรืออบตัวฯลฯ
- ระเบียบว่าด้วยการจัดตั้ง การควบคุมดูแล การให้บริการแก่ผู้รับบริการจากสถานบริการเหล่านั้นทั่วราชอาณาจักร
- พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535
- เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล และควบคุมมาตรฐานของภัตตาคาร ร้านอาหาร หรือกิจการประเภทอื่นที่เกี่ยวข้องในด้านความสะอาด ถูกสุขอนามัย เพื่อสนองแนวคิดเรื่อง Clean food good taste เป็นต้น
- มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการให้อำนาจแก่ท้องถิ่นในการบริหารจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชน
3 พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528,2537,2544
-เกี่ยวข้องกับการจัดหางานภายในประเทศ และการไปทำงานในต่างประเทศสาขาการท่องเที่ยวของบริษัทจัดหางานให้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย
4 พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2535
- ข้องกับการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
5 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2520, 2534 และ 2544
- เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจด้านโฆษณาของธุรกิจต่างๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
6 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ถึง 2548
- กำหนดมาตรฐานการจัดทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งอาจเป็นสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว เช่น ไวน์พื้นบ้าน สินค้าหัตถกรรมพื้นเมือง เป็นต้น
7 พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542
- เกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย เช่น นวดแผนโบราณ เป็นต้น
8 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ 2541
- เป็นกฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองการบริโภคของบุคคลต่างๆ รวมถึงการคุ้มครองการบริโภค เช่น การซื้อของที่ระลึก ของนักท่องเที่ยว ซึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้
9 พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ถึง 2543
- การรถไฟแห่งประเทศไทย จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินกิจการตามที่กำหนดไว้ เช่น การสร้างทางรถไฟสายใหม่ เลิกกิจการในเส้นทางที่ปิดการเดินรถแล้ว ตั้งอัตราค่าโดยสาร เป็นต้น
- รฟท.ต้องไม่วางระเบียบ ตลอดจนกำหนดอัตราค่าขนส่งอันจะเป็นการขัดกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีในทางเศรษฐกิจการคลัง โดยได้รับการยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
10 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2546
- กำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งประจำทาง ไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก การขนส่งส่วนบุคคล การรับจัดการขนส่ง และสถานีขนส่งต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
- รถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งผู้โดยสารต้องจดทะเบียนเสียภาษี และผ่านการตรวจสภาพเพื่อความมั่นคงแข็งแรงจากพนักงานตรวจสภาพรถหรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ
- ผู้ประจำรถ ได้แก่ ผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
- ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งเพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
11 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2542
- เกี่ยวกับการใช้รถ สัญญาณจราจร และเครื่องหมายจราจร การใช้ทางเดินรถ ข้อกำหนดเกี่ยวกับ
12 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ถึง 2547
- แบ่งรถยนต์ออกเป็น 3 ประเภท คือ รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคล
- กฎหมายว่าด้วยทางหลวงตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 259 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515
- การรักษาทางหลวงให้คงทนถาวรและมีบทบัญญัติกำหนดประเภทและชนิดของทางหลวง การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวง รวมถึงประกาศกำหนดน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของยานพาหนะที่ใช้บนทางหลวง
13 พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยพ.ศ.2494 ถึง 2543
- การควบคุม ดูแลกิจการท่าเรือหรือธุรกิจเกี่ยวกับท่าเรือ ซึ่งหมายรวมถึงท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวด้วย
14 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 ถึง 2540
- การควบคุมดูแล การจัดระเบียบการเดินเรือสมุทรเพื่อการท่องเที่ยวและกิจการท่องเที่ยวทางน้ำประเภทต่างๆ
- ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2515
- มาตรการป้องกันและปราบปรามการใช้แม่น้ำลำคลองเป็นที่จอดเรือเพื่อพักอาศัยโดยไม่เคลื่อนที่เป็นเวลานานจนก่อให้เกิดความสกปรกรกรุงรัง
15 พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 ถึง 2540
- การออกทะเบียนเรือสำหรับการค้าในน่านน้ำไทย การโอนกรรมสิทธิ์เรือการจำนองและบุริมสิทธิอันเกี่ยวกับเรือ ชื่อเรือ การเปลี่ยนแปลงเรือ และการเปลี่ยนแปลงเมืองท่าขึ้นทะเบียน
16 พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ.2522 เป็น
- การใช้และการห้ามใช้โคมไฟ การใช้ทุ่นเครื่องหมาย การใช้เสียงสัญญาณ สัญญาณเวลาอับจน การถือท้ายและการเดินเรือ รวมถึงกำหนดวิธี หลักการป้องกันเรือโดนกัน
17 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 ถึง 2542
- เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวในส่วนของการชำระค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินของนักท่องเที่ยว
18 พระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ถึง 2538
- เกี่ยวกับการให้บริการท่าอากาศยาน และการอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ที่ใช้บริการท่าอากาศยาน แต่เดิมใช้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คือ “การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย” แต่ปัจจุบันตาม พ.ร.บ. ฉบับล่าสุด (พ.ศ.2538) ปรับจากรัฐวิสาหกิจเป็น “บริษัทมหาชนจำกัด”

บทที่9 ผลกระทบของอุสาหกรรมการท่องเที่ยว

บทที่9
ผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ผลกระทบจากท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากนักท่องเที่ยวย่อมกระจายไปสู่ธุรกิจต่าง ๆ มากน้อยแตกต่างกัน รายได้ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวออกมาในรูปแบบของเม็ดเงินเด่นชัด เป็นทียอมรับว่าเมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนสถานที่ใดก็ตามจะต้องมีการจ่ายเพื่อเป็นค่าบริการ
ด้านบวก
ช่วยทำให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภายในประเทศ (Local Income)
ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล (Government Receipt)
ช่วยให้เกิดการจ้างงาน (Employment)
ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่ (Creating new job)
ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Earning)
ช่วยให้เกิดภาวะดุลชำระเงิน (Balance of Payment)
ด้านลบ
เราอาจเห็นว่าผลกระทบที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจในงาบวกทั้งสิ้น ซ฿งถ้าเราพิจารณาในแง่ลบแล้วจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
ค่าครองชีพของคนในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น (Increase of Living Expenses)
ราคาที่ดินแพงขึ้น
มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ทำให้สูญเสียรายได้ออกนอกประเทศ
รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ เป็นไปตามฤดูกาล
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม
เมื่อมีการพัฒนาการท่องเที่ยวไปยังแหล่งใดก็ตาม ย่อมมีนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในสถานที่นั้น ๆ ซึ่งมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น ผลที่ตามมาก็มีทั้งด้านดีและด้านลบ แม้ว่าผลกระทบด้านนี้จะเป็นเรื่องที่ยากเพราะอาจมีลักษณะเป็นนามธรรม
ด้านบวกเป็นการพักผ่อนหย่อนใจของบุคคล ลดความเครียด
ช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์และช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในชาติต่างๆ
ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น
คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น จากสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณใกล้เคียง
ด้านลบ
ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อคนในท้องถิ่นจากนักท่องเที่ยว
โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลง
การเลือนหายของอาชีพดั้งเดิมในท้องถิ่น
ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
ปัญหาโสเภณีและCommercial sex
การมีค่านิยมผิดๆ จากการเลียนแบบนักท่องเที่ยว
ปัญหาการบิดเบือนหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
ปัญหาความไม่เข้าใจและการขัดแย้งระหว่างคนท้องถิ่นกับนักท่องเที่ยว
ช่วยให้เกิดการก่อสร้างสิ่งดึงดูดใจด้านการพักผ่อนในพื้นที่
ปัญหาสังคมต่างๆ อาทิ ยาเสพติด โรคเอดส์
การท่องเที่ยวช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์
“การท่องเที่ยวเป็นหนทางไปสู่สันติภาพ”
(Tourism is a passport to peace)
ช่วยให้สภาพแวดล้อมของท้องถิ่นดีขึ้น
ช่วยเสริมอาชีพให้คนในท้องถิ่น การกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น การจ้างงาน ทำให้คุณภาพชีวิตคนดีขึ้น
การท่องเที่ยวจะช่วยลดปัญหาการอพยพเข้าไปทำงาน
ในเมืองหลวง
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
เราไม่สามารถปฏิเสธว่าสังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยปัจจัยต่างๆทำให้เกิดขึ้นโดยฌพาะอย่างยิ่งการติดต่อสัมพันธ์กันปัจจุบันโลกกลายเป็นยุคโลกาภิวัฒน์การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วกว้างไกล
ด้านบวก
เกิดงานเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว วัฒนธรรมถูกรื้อฟื้นหรือไม่เลือนจางหายไป
มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวนิยมมากขึ้น
ช่วยเผยแพร่National Identity(............ลักษณ์ประเทศ)
ผลกระทบอื่นๆ
ด้านลบ
คุณค่าของงานศิลปะลดลง
วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกนำเสนอขายในรูปแบบของสินค้าเน้นตอบสนองนักท่องเที่ยว
วัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวมีบทบาทในการรับวัฒนธรรมใหม่ (Acculturate) ของคนในท้องถิ่น
เกิดภาวะตระหนกและสับสนทางวัฒนธรรม (Culture Shock)
การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรมนั้น (Demonstration Effect)
การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรม(Demonstration Effect)
คนพื้นถิ่นมีโอกาสพบปะกับนักท่องเที่ยว และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เข้ามา เช่น ชาวเขาย่อมแต่งชุดชาวเขาดั้งเดิม แต่พอนักท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อมาเยี่ยมชมมากขึ้น เห็นได้ชัดเจนว่าชาวเขาบางส่วนสวมกางเกงยีนส์และเสื้อยืดแทนที่จะใส่ชุดชาวเขา
ผู้หญิงในหมู่บ้านนุ่งผ้าซิ่นทอเอง ต่อมาความเจริญมีขึ้นเรื่อย ๆ ก็กลายเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปแทน

บทที่8 ธุรกิจอื่นๆ และองค์ประกอบเสรืมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

บทที่8 ธุรกิจอื่นๆและองค์ประกอบเสริมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การดำเนินธุรกิจให้บริการแก่นักท่องเที่ยว นอกจากจะตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวอันจะทำให้เกิดความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการยังได้รับผลกำไรจากการประกอบการธุรกิจเป็นสิ่งตอบแทน นอกจากนี้ บางโอกาส ธุรกิจท่องเที่ยวเองกอาจเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวได้
นอกจากธุรกิจหลักซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวแล้ว ยังมีธุรกิจอื่นๆดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการบริการด้านต่างๆแก่นักท่องเที่ยว เช่น การบริการด้านอาหารเครื่องดื่ม สถานบันเทิง ร้านขายของที่ระลึก ศูนย์ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแหล่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้โดปกติเอกชนจะเป็นผู้จัดสร้างและดำเนินการในรูปแบบของผู้ประกอบการ แต่ก็มีบางแห่งที่รัฐบาลให้การสนับสนุนดำเนินการ
นอกจากธุรกิจขนส่ง ธุรกิจที่พักแรม และธุรกิจบริการจัดนำเที่ยว ถือว่าเป็นธุรกิจหลักในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้ว ยังมีธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและธุรกิจจำหน่ายินค้าที่ระลึก ธุรกิจนันทนาการ ตลอดจนธุรกิจเสริม ได้แก่ ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารและการตลาด รวมถึง การบริการด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในด้านต่างๆอีกด้วย
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
Food and Beverage

หมายถึง การประกอบกิจการให้การให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแก่คนเดินทาง นักท่องเที่ยวหรือประชาชนทั่วไป โดยจัดเตรียมที่นั่งให้ผู้บริโภคได้รับประทานภายในสถานที่ที่ให้บริการ หรืออาจให้บริการบรรจุอาหารเพื่อให้ผู้บริโภคนำรับประทานที่อื่นได้
ความเป็นมา
-สมัยกรีก-โรมัน มีการขายอาหารในระหว่างการเดินทางไปประกอบกิจกรรมทางศาสนาและการค้า ในสมัยโรมัน มีการเปิดร้านอาหารแบบ Snack Bars ( ที่มาของธุรกิจอาหารจานด่วน –Fast Food)
-ยุคกลาง จำนวนร้านอาหารมีเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่มีคุณภาพ
-ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เกิดแนวคิดเรื่องธุรกิจที่พักอย่างจริงจัง ทำให้การบริการอาหารมีผลกระทบไปด้วย ในศตวรรษที่ 16 มีการนำเข้าชาและกาแฟ ทำให้เกิดห้องดื่มกาแฟ ( Coffee House) และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุโรป
-ค.ศ. 1765 เกิดธุรกิจอาหารแบบภัตตาคารที่ฝรั่งเศส โดยนายบลูลองเจอร์ (Monsieur Boulanger) เปิดร้านขายซุป ที่ชื่อว่า Restorantes ซึ่งต่อมากลายเป็นที่มาของคำว่า ภัตตาคาร (Restaurant) ซึ่งเน้นการบริการอาหารประเภทกับแกล้มหรืออาหารเบาๆ (Light or Restoring Dishes)
-ค.ศ. 1782 มีภัตตาคารที่แท้จริงชื่อว่า Grande Taverne de Londres ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
-ในอเมริกา มีภัตตาคารแห่งแรกชื่อ Delmonico และร้านอาหารราคาถูก( Eating House) ในนิวยอร์ค ในปี ค.ศ. 1827 และ 1848 ตามลำดับ
-ธุรกิจร้านอาหารในยุคหลังๆ มีความหลากหลายมากขึ้นทั้งรูปแบบและประเภทของอาหาร อาทิเช่น McDonald ที่ก่อตั้งเมื่อปี 1948


ประเทศไทย
-ยุคแรก เนื่องจากคนไทยนิยมประกอบอาหารไว้รับประทานเองในครัวเรือน ไม่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน แต่สำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร จะมีชุมชนอยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง และมีการค้าขายอาหาร ขนมหวานกันภายในชุมชน ดังที่ปรากฏในคำให้การขุนหลวงหาวัด โดยเฉพาะในชุมชน จีน แขก สำหรับเครื่องดื่มมึนเมาต่างๆ ก็ได้รับการนำเข้ามาจากตะวันตกเพื่อส่งให้ยังราชสำนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยอยุธยาตอนกลาง
-ยุคสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ร้านอาหารที่เปิดส่วนใหญ่เป็นของชาวจีนที่เปิดในย่านสำเพ็งให้บริการแก่ชาวจีนและประชาชนทั่วไป
-สมัยรัชกาลที่ 4-ปัจจุบัน ประชาชนมีอิสระจากการเลิกระบบทาสและไพร่ ผู้คนมีอิสระในการดำเนินชีวิต ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มยุคนั้นดำเนินควบคู่ไปกับโรงแรม ปัจจุบันธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มได้เกิดขึ้นโดยทั่วไป


ประเภทของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
ธุรกิจอาหารจานด่วน ( Fast-Food Restaurants )
-เน้นความสะดวก รวดเร็ว ราคาต่ำไม่บริการเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์เปิดบริการทุกวัน ไม่จำเพาะเจาะจงแต่ร้านที่ดำเนินการแบบการรับรองสิทธิ(Franchising) แต่หมายรวมถึงอาหารตามเชื้อชาติอื่นๆ ที่บริการในรูปอาหารจานเดียว


ธุรกิจอาหารสำเร็จรูป (Deli Shops)
-เป็นการบริการอาหารสำเร็จรูปที่แช่แข็ง เนย แซนวิช สลัด และอื่นๆ ที่นั่งในร้านมีจำกัดและระยะเวลาเปิดไม่ยาวนัก มักตั้งอยู่ในทำเลที่ผู้คนหนาแน่น


ธุรกิจอาหารบุฟเฟต์ (Buffets)
-เป็นธุรกิจที่ให้ลูกค้าบริการตนเอง ลูกค้าสามารถตักอาหารได้ทุกประเภท ในปริมาณที่ไม่จำกัด “All you can eat” ในราคาเดียว/หัว ยกเว้นแต่เครื่องดื่มที่จะบริการให้ที่โต๊ะ ธุรกิจประเภทนี้ได้รับความนิยมในโรงแรม โดยเฉพาะการจัดบริการอาหารในมื้อเที่ยง และค่ำ สำหรับลูกค้าภายในและภายนอก

ธุรกิจประเภทคอฟฟี่ช้อพ (Coffee Shops)
-เน้นการบริการที่รวดเร็ว การให้บริการอาหารจะอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการ ราคาไม่แพงมาก มักจะตั้งอยู่ในสถานที่ชุมชน อาคารกึ่งสำนักงาน หรือศูนย์การค้า ที่มีคนผ่านไปมาจำนวนมาก

ธุรกิจคาเฟทีเรีย (Cafeterias)
- เป็นธุรกิจที่ลูกค้าต้องบริการตนเอง รายการอาหารมีจำกัด เน้นความรวดเร็ว สถานที่ให้บริการกว้างขวางเพื่อรองรับลูกค้าจำนวนมากในช่วงเวลาเร่งด่วน



ธุรกิจร้านอาหารกูร์เมต์ (Gourmet Restaurants)
-เป็นธุรกิจที่เน้นบริการในระดับสูงในทุก ๆ ด้าน เน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการการบริการระดับสูง เป็นธุรกิจที่ใช้ทุนค่อนข้างมากเพื่อรักษาชื่อเสียง และรักษารวมทั้งดึงดูดกลุ่มลูกค้า

ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ(Ethic Restaurants)
-เน้นการให้บริการอาหารประจำท้องถิ่น หรือประจำชาติ พนักงาน การตกแต่งร้านก็มีลักษณะเน้นจุดเด่นลักษณะประจำชาติเช่นเดียวกัน

อาหารไทย ( Thai Food)

จะมีรสชาติผสมผสาน มีทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม เครื่องเทศต่างๆ มักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร แบ่งออกเป็น
1. อาหารที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง เครื่องเทศ จากอินเดีย การผัดโดยใช้น้ำมันมาจากประเทศจีน ของหวานจำพวก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง มาจากโปรตุเกส เป็นต้น
2. อาหารที่ต้องใช้ความประณีตในการประดิษฐ์ อาทิเช่น การแกะสลักผักผลไม้ ขนมช่อม่วง ลูกชุบ ข้าวแช่
3. อาหารที่มีเครื่องเคียงของแนม อาทิ น้ำพริกต่างๆ น้ำปลาหวานสะเดา
4. อาหารว่างและขนม อาทิ กระทงทอง บัวลอย ขนมลืมกลืน ขนมขี้หนู ข้าวตังหน้าตั้ง ขนมสอดไส้ เป็นต้น

ภาคเหนือ


เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณธรรมชาติ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาหารส่วนใหญ่จะยังคงใช้พืชตามป่าเขา หรือที่เพาะปลูกไว้มาปรุงอาหาร โดยมีแบบเฉพาะในการรับประทานเรียกว่า “ขันโตก” อาหารทางเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล เพราะความหวานจะได้จากพืชผักต่างๆ จากการต้ม การผัด อาหารภาคเหนือที่รู้จักกัน อาทิ น้ำพริกหนุ่มมีเครื่องแนมคือแคบหมู ขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงฮังเล ไข่มดส้ม เป็นต้น

ภาคใต้


เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ติดทะเล อาหารหลักมักเป็นอาหารทะเล พวกกุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งโดยปกติจะมีกลิ่นคาว จึงมักใช้เครื่องเทศและขมิ้นเพื่อดับกลิ่น จึงมีรสเผ็ดร้อน เค็ม และเปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสหวาน มีอาหารหลายประเภทที่นิยมรับประทานกับผักเพื่อลดความเผ็ดร้อน เรียกว่า “ผักเหนาะ” หรือ “ผักเกร็ด”
อาหารทางภาคใต้ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงไตปลา แกงเหลือง เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่ร้อน ภูเขา ป่าไม้มีน้อย ดินเป็นดินร่วนปนทราย เก็บน้ำไม่ได้ดี แต่มีผักพื้นบ้านต่างๆ อาทิ ผักหูเสือ แคป่า ผักจิก นิยมเลี้ยงสัตว์ประเภทวัว ควาย ดังนั้นจึงนิยมบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้ สัตว์อื่นๆ ที่มีในธรรมชาติก็นำมาประกอบอาหารเช่นกัน อาทิ มดแดง ตั๊กแตน แมงดานา โดยทั่วไปอาหารจะมีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เค็ม จึงมีการถนอมอาหารในรูปแบบต่างๆ อาทิ ปลาร้า เนื้อเค็ม เป็นต้น
อาหารที่เป็นที่นิยม อาทิ ส้มตำต่างๆ แกงอ่อม ต้มเปรอะ
การดำเนินงานด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Service Operations)

การดำเนินงานด้านการบริการอาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มที่จะดำเนินธุรกิจในรูปแบบกลุ่มธุรกิจ หรือการขอรับสิทธิในการดำเนินธุรกิจเพราะประสบความสำเร็จในระดับสูงอยู่แล้ว เนื่องจาก
-มีประเภทของอาหารไม่มาก ทำให้เกิดอำนาจในการต่อรองในการซื้อวัตถุดิบและมีการสูญเสียน้อย การควบคุมทำได้ทั่วถึง
- ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ
-ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของพนักงานสูง เพราะมีการฝึกอบรมเป็นอย่างดี
-ภาชนะใส่อาหารมักเป็นแบบใช้ครั้งเดียว ลดภาระเรื่องการล้างทำความสะอาด
-มีความชำนาญด้านอาหารเป็นอย่างดี

สำหรับอาหารที่มีไว้บริการในโรงแรม ส่วนมากเป็นแบบตะวันตก แบ่งเป็นมื้อได้ดังนี้


อาหารเช้า Breakfast คืออาหารที่รับประทานช่วง 8.00-9.00 น.
-อาหารเช้าแบบยุโรป (European Breakfast) ประกอบด้วยน้ำผลไม้ ขนมปัง แยม หรือเนย กาแฟน ไม่มีเนื้อสัตว์และผลไม้
-อาหารเช้าแบบอเมริกัน (American Breakfast) ประกอบด้วย น้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน แล้วตามด้วย ชา กาแฟ

อาหารก่อนกลางวัน (Brunch) รับประทานช่วงเวลา 9.30-11.30 น. หนักกว่ามื้อเช้า
อาหารกลางวัน Lunch or Luncheon รับประทานในช่วง 11.30-14.00 น.เป็นอาหารที่ไม่หนักจนเกินไป ใช้เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หมู ผักต่างๆ อาจเป็นแบบ A La Carte คือรายการที่ลูกค้าสามารถสั่งได้ตามใจชอบจากรายการที่มี หรือ Table d’Hotel คือแบบรายการอาหารชุด แบ่งเป็น
-อาหารจานเดียว (One Course)
-อาหารกลางวันประเภทสองจาน (Two Courses)
-อาหารกลางวันประเภทสามจาน (Three Courses)
-อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ (Buffet Lunch)

อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea) ปกติรับประทานเวลา 15.00-17.00 น. ชากาแฟ เค้ก หรือ ผลไม้
อาหารเย็น ( Dinner) เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นอาหารมื้อที่หนักที่สุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่าง ๆ ดังนี้
-อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
-ซุป (Soup)
-อาหารนำจานหลัก (Entress) ประเภทอาหารทะเล
-อาหารหลัก (Main Course) ได้แก่อาหารประเภท เนื้อสัตว์ แป้ง
-ของหวาน (Dessert)
-ชาหรือกาแฟ (Tea or Coffee)
อาหารมื้อดึก (Supper) เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังมื้อเย็นหรือหลังอาหารหนัก
การจัดการและการตลาด (Management and Marketing)
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจอื่นๆ ประกอบกับภาวการณ์แข่งขันมีค่อนข้างสูง ผู้ประกอบการต้องพยายามตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย โดยใช้หลักการตลาดและส่วนผสมทางการตลาดในทุกๆ ด้านดังนี้
1. ด้านผลิตภัณฑ์ (product) ต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของอาหารและบริการ ต้องมีคุณค่าทางโภชนาการและถูกหลักอนามัย
2. ด้านราคา (price) ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมกับชนิดและประเภทของอาหาร โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพ ต้นทุน การให้บริการ ต้องหมั่นสำรวจตลาด และคู่แข่งเสมอ
3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (place) ต้องรู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยวิธีใด อาทิสถานที่ตั้ง บริการส่งถึงที่ เป็นต้น
4. การส่งเสริมการขาย (promotion) ควรเลือกสื่อและโฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด รวมทั้งการประสานงานกับบริษัทนำเที่ยว หรือตัวแทนการท่องเที่ยว สายการบิน องค์กรการท่องเที่ยวต่างๆ หรืออาจมีการรวมกลุ่มเป็นสมาคม อาทิ สมาคมภัตตาคาร (restaurant association)

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึก Shopping and Souvenir Business

ธุรกิจจำหน่ายสินค้า คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปรวมถึงนักท่องเที่ยว
ความเป็นมา
การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในสมัยโบราณจะกระทำในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนระหว่างของกับของ หรือที่เรียกว่า Barter System ต่อมาเมื่อมีการนำเอาใช้โลหะมีค่า มากำหนดค่าและใช้เป็นสื่อกลางของการซื้อขายแลกเปลี่ยน ระบบBarter System จึงค่อยๆ เลิกไป
สถานที่ที่เกิดกิจกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า
อาจมีพัฒนาการมาตั้งแต่การซื้อขายแลกเปลี่ยนเมื่อมีผู้ที่มีความต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการนั้น อาจไม่จำกัดสถานที่ เมื่อมีทั้งผู้ต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการนั้นมีเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดบริเวณที่สามารถรวมเอาทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเป็นจำนวนมากมาไว้ที่เดียว หรือ ตลาดเพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการเลือกซื้อสินค้า
ห้างสรรพสินค้า เป็นรูปแบบของธุรกิจการจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ที่พัฒนาขึ้นจากยุโรปก่อนแล้วค่อยแพร่ขยายเข้ามาสู่ อเมริกา และเอเชียในที่สุด เป็นพัฒนาการของการจำหน่ายสินค้าที่รวมมาอยู่ในบริเวณเดียว มีการจัดสินค้าเป็นแผนก เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นหาของลูกค้า มีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการส่งเสริมการขาย การบริการลูกค้า

ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ


ห้างสรรพสินค้า ( Department Store) หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก เพื่อเป็นการประหยัดเวลาของลูกค้า มีการปรับเปลี่ยนสินค้าให้ทันสมัยและเหมาะสมตลอดเวลา หรือในบางครั้งห้างสรรพสินค้า อาจขายสินค้าไม่กี่ชนิด เพื่อเป็นการเน้นความเชี่ยวชาญ โดยส่วนมากห้างสรรพสินค้ามักตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน
ห้างสรรพสินค้ายังมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และได้ทำให้หลายๆ ประเทศพยายามพัฒนาภาพลักษณ์ให้เป็นสวรรค์ของการซื้อสินค้า ( Shopping Paradise)


ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls) คือการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน ตลอดจนบริการที่จอดรถตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาทิ โรงภาพยนตร์ ธนาคาร ภัตตาคาร


ร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)และร้านปลอดภาษี (Tax-free shop) เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น โดยสินค้าในร้านปลอดอากรนั้น มักเป็นสินค้าปลอดอากรที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูง แต่ขายถูก และสินค้าในร้านปลอดภาษีมักเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ
ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้า
1.เป็นแหล่งกระจายสินค้าภายในประเทศออกไปยังต่างประเทศ ทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่ชื่อเสียง หรือโฆษณาแหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น ผ้าไหม น้ำหอม เป็นต้น
2.กิจกรรมการซื้อสินค้าเป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยว
3.ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น
4.ก่อให้เกิดการจ้างงานของคนในท้องถิ่น

ธุรกิจสินค้าที่ระลึก

คือ การประกอบธุรกิจและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อเป็นของระลึก ของฝาก หรือแม้แต่เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน สินค้าที่ระลึกมักถูกพัฒนาจากศิลปหัตถกรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ ความเป็นอยู่ โดยใช้วัสดุของท้องถิ่นในการผลิตและใช้แรงงานภายในท้องถิ่น


ลักษณะสำคัญของสินค้าที่ระลึก
- เป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อเอ่ยถึงทุกคนสามารถเดาที่มาได้
- เป็นสินค้าที่หายากและราคาแพง มีแหล่งผลิตเฉพาะที่
- เป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว
- เป็นสินค้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์แปลกและมีประโยชน์ใช้สอย
- เป็นสินค้าที่มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก เหมาะสมต่อการขนส่ง ไม่เปราะบางหรือชำรุดง่าย
- เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่น เป็นสินค้าที่นำวัสดุเหลือใช้ไร้ค่ามาแปรรูป
- เป็นสินค้าที่มีการแสดงขั้นตอนการผลิตให้นักท่องเที่ยวเห็นหรือทดลองทำ
- เป็นสินค้าที่ควรหาซื้อได้ง่าย

ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของไทย

แบ่งจากจุดประสงค์ในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นจุดประสงค์ที่ต้องการใช้สอยเอง หรือเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ หรือเพื่อจัดจำหน่าย ทำให้ผลผลิตมีรูปลักษณะที่แตกต่างกันสามลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามประเพณีนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามสมัยนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นเฉพาะ

แบ่งจากวัสดุและเทคนิควิธีการสร้าง มีสามลักษณะได้แก่
- สร้างหรือดัดแปลงจากวัสดุธรรมชาติ - สร้างจากวัสดุสังเคราะห์
- สร้างจากเศษวัสดุ

แบ่งจากรูปลักษณะที่ปรากฏ มีหกลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะตัวอักษร
- รูปลักษณะทรงเรขาคณิต
- รูปลักษณะตามลัทธิและความเชื่อ
- รูปลักษณะธรรมชาติ
- รูปลักษณะผลผลิตและเครื่องมือเครื่องใช้
- รูปลักษณะอิสระ

แบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้
- ประเภทบริโภค - ประเภทประดับตกแต่ง
- ประเภทใช้สอย - ประเภทวัตถุทางศิลปะ

ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก

ทางสังคมและวัฒนธรรม
-สร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนในสังคม และการใช้เวลาว่างของประชาชนให้เกิดคุณประโยชน์
-ลดปัญหาสังคม และลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน
-การรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

ทางเศรษฐกิจ
-สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ
-สร้างชื่อเสียงหรือเอกลักษณ์ของประเทศไปสู่โลก

ทางระบบการท่องเที่ยว
-ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทางการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มความสุนทรีย์ ในการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการกลับมาเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง
-ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ หรือเป็นการสร้างการยอมรับทางสังคม เป็นการแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจ

ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business)
หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยว
ธุรกิจนันทนาการประกอบด้วย


ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
- สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน

ธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)
ธุรกิจการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว
ธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยว
ธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล

บทที่7 ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

บทที่7
ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว แบ่งตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ปี พ.ศ. 2535 มี 3 ประเภทได้แก่
  1. ธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ : เป็นการจัดนำเที่ยวในจังหวัดที่ดำเนินธุรกิจนำเที่ยวและ จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน
  2. ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ : เป็นการจัดนำเที่ยวไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร
  3. ธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ : เป็นการจัดนำเที่ยวไปยังต่างประเทศ นำนักท่องเที่ยวต่างประเทศเที่ยวในประเทศไทยทั่วราชอาณาจักร และนำนักท่องเที่ยวชาวไทยเที่ยวภายในประเทศไทยทั่วราชอาณาจักร
แทรเวล เอเจนซี่
บทบาทหน้าที่ของแทรเวล เอเจนซี่
  • จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
  • ทำการจอง
  • รับชำระเงิน
  • ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเกินทาง
  • ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
  • ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
  • ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ
ประโยชน์ของการใช้บริการของ แทรเวล เอเจนซี่
  • มีความชำนาญในการหาข้อมูลและวางแผนการท่องเที่ยว
  • สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุด
  • ช่วยประหยัดเวลาและความลำบาก
  • ช่วยแก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา
  • รู้จักผู้ประกอบธุรกิจมากกว่า
  • รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า
ประเภทของแทรเวล เอเจนซี่ จะมีลักษณะคล้ายกันคือมีขนาดเล็กและเป็นธุรกิจของครอบครัวและให้บริการแก่ลูกค้าที่อยู่ในทำเลใกล้เคียง มี 4 ประเภท
  1. แบบที่มีมาแต่เดิม
  2. แบบที่ขายทางอินเติร์เน็ต
  3. แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง
  4. แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก
บริษัททัวร์ (Tour Operator) ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่จัดทำโปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่าย ให้กับลูกค้าผ่านทางแทรเวล เอเจนซี่
บริษัททัวร์จะทำสัญญากับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆๆ ได้แก้ โรงแรม ร้านอาหาร สายการบิน จากนั้นจึงขายไปยังลูกค้าโดยตรงหรือผ่านทางแทรเวล เอเจนซี่
ประโยชน์ของการใช้บริการของบริษัททัวร์
  1. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
  2. ประหยัดค่าใช้จ่าย
  3. ได้ความรู้
  4. ได้เพื่อนใหม่
  5. ได้ความสบายและรู้สึกปลอดภัย การเดินทางไปกับทัวร์จะทำให้รู้สึกสบายใจว่ามีมัคคุเทศก์คอยดูแลและรู้สึกปลอดภัย
  6. ไม่มีทางเลือกอื่น อาจทำให้หาที่พักได้ยาก นักท่องเที่ยวจึงหันมาซื้อโปรแกรมทัวร์
ประเภทการทัวร์ ทัวร์แบบเหมาจ่ายเป็นประเภทใหญ่ๆได้3 ประเภท
  1. ทัวร์แบบอิสระ (Independent tour)
  2. ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว (Hosted tour)
  3. ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว (Escorted tour)
การจัดทัวร์แบบอื่นๆ เช่น
  • การจัดทัศนาจร (Day Tour) หมายถึง โปรแกรมทัวร์ที่พานักท่องเที่ยวเดินทางโดยใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงเช่น การท่องเที่ยวชมเมือง
  • ทัวร์แบบผจญภัย (Adventure Tours) เช่น การไปดำน้ำ การไปล่องแพ การไปเดินป่าเป็นต้น
บริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยว (Destination Management Company or DMC)

ททท.ให้คำจำกัดความดังนี้ “บริษัทที่ดำเนินจัดการเรื่องการขนส่งภาคพื้นดิน การจัดงานเลี้ยง โรงแรมและนำเที่ยวให้แก่กลุ่มท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล (Incentive Group)
DMC มีความความเชี่ยวชาญดังนี้
  • บริการขนส่งภาคพื้นดิน จองห้องพัก ห้องอาหารและห้องจัดเลี้ยงของโรงแรม บริการจัดงานเลี้ยงนอกสถานที่ จัดกิจกรรมพิเศษ เช่น นันทนาการ กลุ่มสัมพันธ์
  • บริษัทเอกชนต่างๆ นิยมติดต่อบริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยวให้ดำเนินการจัดการท่องเที่ยวให้ดำเนินการจัดการท่องเที่ยวให้กับกลุ่มเดินทางท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล
บริษัทรับจัดการประชุม (Meeting Planner)
ตลาดการประชุมทั้งในและนอกประเทศเติบโตสูงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาจึงเกิดธุรกิจจัดประชุม ซึ่งธุรกิจนี้เป็นผู้จัดจำหน่ายที่สำคัญของธุรกิจโรงแรมและมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้

  • เลือกสถานที่สำหรับการประชุม จองห้องพัก
  • วางแผนด้านอาหารและเครื่องดื่ม
  • วางโปรแกรมสำหรับผู้เข้าประชุมและผู้ติดตาม
  • ประสานงานกับผู้จัดการประชุมของโรงแรม
  • บริการด้านการเดินทางและขนส่ง
  • วางแผนด้านการรักษาความปลอดภัยหรือแก้ไขวิกฤต
  • ประเมินผลงานเมื่อการประชุมสิ้นสุดลง
**Destination Management Company: DMC : เป็นบริษัทที่ดำเนินจัดการเรื่องการขนส่งภาคพื้นดิน การจัดเลี้ยง โรงแรมและนำเที่ยวให้แก่กลุ่มท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล (Incentive Tour)

บทที่6 ที่พักแรม

บทที่ 6 ที่พักแรม

ความเป็นมาของธุรกิจที่พักแรมในต่างประเทศใน ทวีปยุโรปและอเมริกา
ที่พักแรมเกิดจากความต้องการของนักเดินทางที่ไม่มีที่พักอาศัย ไม่สามารถไป-กลับได้ ในเวลาหนึ่งวัน รูปแบบที่พักพัฒนาตามความเจริญของเศรษฐกิจ ระบบขนส่งคมนาคมยุคแรกของที่พักแรมนั้น ให้เพื่อบริการการพักผ่อนเท่านั้น ต่อมากลายเป็น Coaching Inn ที่พักตามเส้นทางถนนและได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษ๓ ศตวรรษที่ ๑๘ รูปแบบที่พักได้เจริญเติบโตขึ้น บริเวณสถานีปลายทางและเมืองท่า มีการออกแบบให้เป็นโรงแรมรถไฟ (Railway Hotels) ช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงเมืองตากอากาศได้สะดวกมากขึ้น ที่พักแบบตากอากาศ หรือรีสอร์ท (Resort) จึงขยายตัวมากในยุโรปและอเมริกา
โรงแรม (Hotel)

โรงแรม เป็นประเภทธุรกิจที่พักแรมในปัจจุบัน คำว่า Hotel มาจากภาษาฝรั่งเศส ดังนั้น แบบแผนการดำเนินงานการโรงแรมมาตรฐานสากลส่วนใหญ่ ล้วนมีต้นแบบจากประเทศในยุโรปและอเมริกากลุ่มโรงแรมที่สำคัญ ได้แก่ Intercontinental, Holiday Inn, Marriott, Sofitel, Hilton, Conrad, Sheraton, Hyatt, Le Meridien เป็นต้น
ความเป็นมาของธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย
สมัยอยุธยาเพื่อบริการพ่อค้า ทูต ผู้เผยแพร่ศาสนา บริเวณวัดเสาธงทองตั้งอยู่ระหว่างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี พระวิหารเดิมสร้างขึ้นเพื่อเป็นสุเหร่า ตามแผนที่ของฝรั่งเศสระบุว่า เป็นที่พักของชาวเปอร์เซียสมัยรัตนโกสินทร์เพื่อบริการนักเดินทางชาวตะวันตก อยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวตะวันตกเข้ามาจำนวนมาก ในปี พ.ศ. ๒๔๐๖ ถนนเจริญกรุงตอนใต้จึงเป็นย่านที่พักของชาวตะวันตกในกรุงเทพฯยุคแรก
กิจการโรงแรมที่สำคัญในอดีตของประเทศไทย

1) โอเรียนเต็ลโฮเต็ล สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกลาสีเรือชาวต่างชาติ เป็ยเพียงอาคารไม้ชั้นเดียว ปัจจุบัน กลายเป็นโรงแรมมาตรฐานสากลชั้นนำแห่งหนึ่ง



2) โฮเต็ลหัวหิน หรือ โรงแรมรถไฟหัวหิน สร้างในสมัยพระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดให้บริการตามแบบโฮเต็ลในยุโรป ต่อมาให้เอกชนปรับปรุง และเช่าดำเนินกิจการ เป็นโรงแรมโซฟิเทลหัวหิน ปัจจุบัน กลายเป็นโรงแรมมาตรฐานสากลชั้นนำแห่งหนึ่ง


3) โฮเต็ลวังพญาไท สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยปรับปรุงจากพระราชวังพญาไท(เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ใช้เป็นที่รับรองแขกเมือง ปัจจุบันได้รับการบูรณะให้งดงาม ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่บริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า


4) โรงแรมรัตนโกสินทร์ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระอานันทมหิดล บนถนนราชดำเนินกลางใกล้สะพานผ่านพิภาพลีลา ใช้รับรองแขกเมืองสำคัญ และเป็นที่ชุมนุมของชาวสังคมยุคนั้น ต่อมาให้เอกชนเช่าดำเนินการเปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมรอยัล ปัจจุบันยังดำเนินกิจการอยู่กลุ่มโรงแรมภายในประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มดุสิตธานี, เซ็นทรัล, อมารี, อิมพีเรียลพระราชบัญญัติโรงแรม ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ระบุว่า "โรงแรม" คือ สถานที่ที่พัก จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทางธุรกิจ ให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง โดยมีค่าตอบแทนและไม่คิดเป็นรายเดือน

ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักแรม
  • ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ำพัก
  • ความสะอาดและสุขอนามัยในสถานที่พัก
  • ความสะดวกสบายจากบริการสิ่งอำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการของผู้พัก
  • ความเป็นส่วนตัว
  • บรรยากาศตกแต่งสวยงาม
  • ภาพลักษณ์ของกิจการ และอื่นๆ
แผนกงานในโรงแรม

1. แผนกงานส่วนหน้า เป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างโรงแรมและแขกผู้พัก
2. แผนกงานแม่บ้าน การจัดเตรียมห้องพักแขก ทำความสะอาดในพื้นที่ต่างๆ ซีกรีด จัดดอกไม้
3. แผนกอาหารและเครื่องดื่ม รับผิดชอบเรื่องอาหารและการบริการอาหาร เครื่องดื่ม
4. แผนกขายและการตลาด รับผิดชอบวางแผนตลาดเพื่อสร้างรายได้แก่ธุรกิจ
5. แผนกบัญชีและการเงิน ดูแลจัดทำบัญชีและควบคุมการเงินของโรงแรม
6. แผนกทรัพยากรมนุษย์ ในบางกิจการขนาดเล็ก จะเป็นแผนกบุคคล

ประเภทห้องพัก

1. ห้องพักสำหรับนอนคนเดียว ในต่างประเทศ จะเป็นห้องพักเตียงเดี่ยว



2. ห้องพักเตียงคู่แฝด ประกอบเตียงเดี่ยว ๒ เตียง ตั้งเป็นคู่วางแยกกัน


3.ห้องพักเตียงคู่ที่เป็นเตียงเดียวขนาดใหญ่ สำหรับนอนได้ ๒ คน บางครั้งให้บริการแก่ผู้พักที่มาคนเดียว เพื่อความสะดวกสบายยิ่งขึ้น


4.ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้องตั้งแต่ ๒ ห้องขึ้นไป โดยกั้นเป็นสัดส่วนแบ่งเป็นห้องนอนและห้องนั่งเล่น ในโรงแรมมาตรฐานชั้นดีตามแบบสากลมักมีห้องชุดที่ตกแต่งสวยงาม บริการในอัตราราคาสูง