วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่7 ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

บทที่7
ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว แบ่งตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ปี พ.ศ. 2535 มี 3 ประเภทได้แก่
  1. ธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ : เป็นการจัดนำเที่ยวในจังหวัดที่ดำเนินธุรกิจนำเที่ยวและ จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน
  2. ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ : เป็นการจัดนำเที่ยวไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร
  3. ธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ : เป็นการจัดนำเที่ยวไปยังต่างประเทศ นำนักท่องเที่ยวต่างประเทศเที่ยวในประเทศไทยทั่วราชอาณาจักร และนำนักท่องเที่ยวชาวไทยเที่ยวภายในประเทศไทยทั่วราชอาณาจักร
แทรเวล เอเจนซี่
บทบาทหน้าที่ของแทรเวล เอเจนซี่
  • จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
  • ทำการจอง
  • รับชำระเงิน
  • ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเกินทาง
  • ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
  • ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
  • ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ
ประโยชน์ของการใช้บริการของ แทรเวล เอเจนซี่
  • มีความชำนาญในการหาข้อมูลและวางแผนการท่องเที่ยว
  • สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุด
  • ช่วยประหยัดเวลาและความลำบาก
  • ช่วยแก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา
  • รู้จักผู้ประกอบธุรกิจมากกว่า
  • รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า
ประเภทของแทรเวล เอเจนซี่ จะมีลักษณะคล้ายกันคือมีขนาดเล็กและเป็นธุรกิจของครอบครัวและให้บริการแก่ลูกค้าที่อยู่ในทำเลใกล้เคียง มี 4 ประเภท
  1. แบบที่มีมาแต่เดิม
  2. แบบที่ขายทางอินเติร์เน็ต
  3. แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง
  4. แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก
บริษัททัวร์ (Tour Operator) ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่จัดทำโปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่าย ให้กับลูกค้าผ่านทางแทรเวล เอเจนซี่
บริษัททัวร์จะทำสัญญากับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆๆ ได้แก้ โรงแรม ร้านอาหาร สายการบิน จากนั้นจึงขายไปยังลูกค้าโดยตรงหรือผ่านทางแทรเวล เอเจนซี่
ประโยชน์ของการใช้บริการของบริษัททัวร์
  1. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
  2. ประหยัดค่าใช้จ่าย
  3. ได้ความรู้
  4. ได้เพื่อนใหม่
  5. ได้ความสบายและรู้สึกปลอดภัย การเดินทางไปกับทัวร์จะทำให้รู้สึกสบายใจว่ามีมัคคุเทศก์คอยดูแลและรู้สึกปลอดภัย
  6. ไม่มีทางเลือกอื่น อาจทำให้หาที่พักได้ยาก นักท่องเที่ยวจึงหันมาซื้อโปรแกรมทัวร์
ประเภทการทัวร์ ทัวร์แบบเหมาจ่ายเป็นประเภทใหญ่ๆได้3 ประเภท
  1. ทัวร์แบบอิสระ (Independent tour)
  2. ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว (Hosted tour)
  3. ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว (Escorted tour)
การจัดทัวร์แบบอื่นๆ เช่น
  • การจัดทัศนาจร (Day Tour) หมายถึง โปรแกรมทัวร์ที่พานักท่องเที่ยวเดินทางโดยใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงเช่น การท่องเที่ยวชมเมือง
  • ทัวร์แบบผจญภัย (Adventure Tours) เช่น การไปดำน้ำ การไปล่องแพ การไปเดินป่าเป็นต้น
บริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยว (Destination Management Company or DMC)

ททท.ให้คำจำกัดความดังนี้ “บริษัทที่ดำเนินจัดการเรื่องการขนส่งภาคพื้นดิน การจัดงานเลี้ยง โรงแรมและนำเที่ยวให้แก่กลุ่มท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล (Incentive Group)
DMC มีความความเชี่ยวชาญดังนี้
  • บริการขนส่งภาคพื้นดิน จองห้องพัก ห้องอาหารและห้องจัดเลี้ยงของโรงแรม บริการจัดงานเลี้ยงนอกสถานที่ จัดกิจกรรมพิเศษ เช่น นันทนาการ กลุ่มสัมพันธ์
  • บริษัทเอกชนต่างๆ นิยมติดต่อบริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยวให้ดำเนินการจัดการท่องเที่ยวให้ดำเนินการจัดการท่องเที่ยวให้กับกลุ่มเดินทางท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล
บริษัทรับจัดการประชุม (Meeting Planner)
ตลาดการประชุมทั้งในและนอกประเทศเติบโตสูงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาจึงเกิดธุรกิจจัดประชุม ซึ่งธุรกิจนี้เป็นผู้จัดจำหน่ายที่สำคัญของธุรกิจโรงแรมและมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้

  • เลือกสถานที่สำหรับการประชุม จองห้องพัก
  • วางแผนด้านอาหารและเครื่องดื่ม
  • วางโปรแกรมสำหรับผู้เข้าประชุมและผู้ติดตาม
  • ประสานงานกับผู้จัดการประชุมของโรงแรม
  • บริการด้านการเดินทางและขนส่ง
  • วางแผนด้านการรักษาความปลอดภัยหรือแก้ไขวิกฤต
  • ประเมินผลงานเมื่อการประชุมสิ้นสุดลง
**Destination Management Company: DMC : เป็นบริษัทที่ดำเนินจัดการเรื่องการขนส่งภาคพื้นดิน การจัดเลี้ยง โรงแรมและนำเที่ยวให้แก่กลุ่มท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล (Incentive Tour)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น